วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การผสมเทียมปลาสลิด

การผสมเทียมปลาสลิด

1. การเตรียมบ่อและโรงเรือน
1.1 บ่อ ที่ใช้ในการเพาะฟักปลาสลิดโดยการผสมเทียมนั้น จะทำเป็นบ่อปูนโดยการก่ออิฐบล๊อกขนาดกว้างอิฐ 3 ก้อน ยาว 8 ก้อน สูง 3 ก้อน ยกพื้นจะหรือพื้นสำหรับเป็นบ่อจริงสำหรับขังน้ำ 2 ก้อน
1.2 โรงเรือน โรงเรือนที่สร้างคลุมบ่อหรืออ่างเพาะฟักนั้นจะต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้ เพราะอุณภูมิในโรงเรือนนั้นมีผลต่อการเพาะฟักปลาสลิดโดยวิธีการผสมเทียมเป็นอย่างมาก โดยหลังคาและด้านข้างจะต้องใช้พลาสติกคลุม
และมีพัดลมสำหรับระบายอากาศเมื่อยามอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง 40 องศาเซนเซียส
1.3 อุณหภูมิ อุณหภูมิที่ใช้ในการเพาะฟักปลาสลิดโดยการผสมเทียม อุณหภูมิของน้ำในระหว่างเพาะฟักจะอยู่ในช่วง 28 – 30 องศาเซนเซียส อุณหภูมิภายในโรงเรือนจะอยู่ในช่วง 38 – 40 องศาเซนต์เซียส
1.4 ฮอร์โมนที่ใช้ผสมเทียม จะใช้ฮอร์โมนซูพรีแฟคที่มีความเข้มข้น 25 ไมโครกรัม จะใช้ให้กับแม่พันธุ์เท่านั้น
1.5 จำนวนพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ จะใช้อัตราส่วน 1 / 1 ขนาดของบ่อกว้าง 1.20 ม. ยาว 4 เมตร จะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ ประมาณ 15 คู่
1.6 การเตรียมบ่อเพาะฟักปลาสลิดโดยวิธีการผสมเทียม จะต้องเตรียมน้ำก่อน โดยการนำหญ้าแห้งมามัดเป็นกำ ๆ ประมาณ 15 – 20 กำ/บ่อ ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน จะสังเกตุได้จากสีของน้ำจะออกสีแดง ๆ
1.7 เมื่อเตรียมบ่อและเตรียมน้ำเสร็จแล้วให้นำพ่อพันธุ์ปล่อยลงไปในบ่อๆละ 15 ตัวหลังจากนั้นให้ฉีดฮอร์โมนให้กับแม่พันธุ์ แล้วปล่อยลงไปในบ่อ ๆ ละ 15 ตัว เช่นกัน หลังจากนั้นให้ใช้สแลนสีเขียวชนิดพรางแสง ประมาณ 60/40 ปิดปากบ่อเพื่อให้เกิดความมืดเพื่อให้ปลาก่อหวอด
1.8 หลังจากปล่อยพ่อแม่ปลาลงในบ่อเพาะฟักแล้ว ประมาณ 48 ชั่วโมง ปลาจะเริ่มก่อหวอด ในระหว่างนั้นคาดว่าปลาจะวางไข่แล้ว
1.9 หลังจากปลาก่อหวอดแล้วอีกประมาณ 3 วัน หวอดจะยุบและจะเห็นลูกปลา
1.10 หลังจากปลาเป็นตัวแล้วให้เก็บหญ้าแห้งออก และเริ่มให้ไรแดง ไปจนกระทั่งมี
อายุประมาณ 25 วัน ก็เริ่มจับจำหน่ายได้
หมายเหตุ จะต้องจับและเคลื่อนย้ายก่อนที่ลูกปลาเกร็ดแข็ง เพราะถ้าปล่อยให้ปลาเกร็ดแข็ง เกร็ดจะหลุดจะทำให้ปลาเป็นโรคเลี้ยงไม่รอด

การเจือจางฮอร์โมนสำหรับผสมเทียมปลา

ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการผสมฮอร์โมน ซูฟรีแฟคท์ เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เมื่อซื้อฮอร์โมนซูฟรีแฟคท์มาแล้วจากร้านขายยา ก่อนอื่นควรทราบรายละเอียดของฮอร์โมนก่อน กล่าวคือ
* ฮอร์โมนที่ซื้อมา 1 ขวดนี้ ราคาประมาณ 1,650 บาท
* ใน 1 ขวด จะบรรจุฮอร์โมนประมาณ 10 ซี.ซี. จะมีความเข้มข้น 10,000 ไมโครกรัม
* ในการผสมเทียมปลาแต่ละครั้งจะใช้ความเข้มข้น ประมาณ 25 ไมโครกรัม
* ฉะนั้นจะต้องเจือจางฮอร์โมนที่ซื้อมาซึ่งมีความเข้มข้นถึง 10,000 ไมโครกรัม ให้เหลือความเข้มข้นประมาณ 25 ไมโครกรัม จึงจะผสมเทียมได้

ขั้นตอนในการเจือจางฮอร์โมนในการผสมเทียมปลามีดังนี้
1. นำฮอร์โมนที่ซื้อมา 1 ขวด ใช้เข็มฉีดยาดูดฮอร์โมนออกมา 1 ซี.ซี. ใส่ขวดแก้วที่มีสีชาไว้
2. ซื้อน้ำเกลือ( ที่ใช้สำหรับให้คนป่วย) ที่มีเดร็กโตรส 5 % มา 1 ขวด หลังจากนั้นใช้เข็มฉีดยาดูดน้ำเกลือออกมา 9 ซี.ซี. ผสมกับฮอร์โมนที่ดูดออกมาใส่ขวดไว้ในครั้งแรก เขย่าผสมให้เข้ากัน ( ในช่วงนี้ ความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ได้จะมีความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม )
3. เวลาจะใช้ฮอร์โมนในการผสมเทียมปลาจริง ๆ จะใช้เข็มฉีดยา ดูดฮอร์โมนที่ได้จากการผสมในข้อที่ 2 (ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม ) ออกมา 1 ซี.ซี. แล้วใส่แก้วไว้
4. ให้ใช้เข็มฉีดยาดูดน้ำเกลือออกมา 4 ซี.ซี. ใส่ผสมกับฮอร์โมนในข้อที่ 3 เมื่อผสมกันแล้ว
(ในข้อ 3 และข้อ 4 )จะได้ฮอรโมนทั้งหมดจำนวน 5 ซี.ซี. ความเข้มข้นของฮอร์โมนจะเหลือ 25 ไมโครกรัมแล้ว สามารถนำไปฉีดให้กับปลาได้ 5 กิโลกรัม แต่ก่อนจะนำไปฉีดจะต้องนำฮอร์โมนนี้ไปผสมกับยาโมทิเลี่ยม m 1 เม็ด ( โมทิเลียมจะต้องบดให้ละเอียดเสียก่อน) นำฮอรโมนที่ผสมแล้วดูดใส่เข็มฉีดยาขนาดบรรจุ 1 ซี.ซี. ไว้จะได้ทั้งหมด 5 เข็ม
5. การฉีดฮอร์โมนแต่ละครั้งจะฉีดในปริมาณเท่าไร ก่อนอื่นต้องจับปลาชั่งที่ละตัวว่าน้ำหนักตัวเท่าไร ตัวอย่าง จับปลาตัวแรก ชั่งได้ นำหนัก 2 ขีด ให้เอาเข็มแทงบริเวณด้านข้างลำตัวใกล้ครีบหลัง แล้วฉีดฮอร์โมนให้ปลา 0.2 ซี.ซี. ถ้าปลาตัวต่อไปนำหนัก 2.5 ขีด ก็ฉีดฮอร์โมน 0.25 ซี.ซี. ( ให้ชั่งปลาทุกตัวและฉีดฮอร์โมน โดยยึดหลัก ปลา 1 กิโลกรัม ต่อ ฮอร์โมน 1 ซี.ซี.)
หมายเหตุ
ในการเจือจางฮอร์โมนในทางปฏิบัติจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องยากเลย เมื่อเป็นแล้วสามารถนำไปใช้ในการผสมเทียมได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลาสลิด ปลาหมอไทย ปลาดุก ตะเพียน ยีสก
ปัญหาจริง ๆ คือ ไม่มีใครบอกวิธีการเจือจางฮอร์โมน ได้แต่บอกว่า ว่าผสมเทียมปลาจะต้องฮอร์โมนที่มีความเข็มข้น 10 – 30 ไมโครกรัม แล้ว 10 – 30 ไมโครกรัม เอามาจากไหนมาได้อย่างไร ทำให้ผู้อ่านไม่สามารถปฏิบัติได้

นักเรียนโรงเรียนบางลี่วิทยา มีการเรียนการสอนในรายวิชา การเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด โดยผสมเทียมปลาสลิด ปลาหมอไทย ปลาตะเพียน ปลายีสก ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย และปลาอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจ หรือหาพันธุ์ปลาได้

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ในหลวงกับเทคโนโลยี


1. ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในด้านส่วนพระองค์นั้น ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย
พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชมงานนิทรรศการต่างๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระองค์สนพระทัยซักถามอาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างละเอียดและเป็นเวลาน
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/
2.พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยายของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : ๒๕๓๐) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล
ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียมทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ
นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/kamana_2.htm
3.ไบโอดีเซล” จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2544
อีกทั้งในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้